เมนู

ธรรมเหล่านั้นอันเป็นธรรมนับเนื่องในภูมินี้โดยความเป็นราสี (กอง) โดย
ความว่างเปล่า โดยความเป็นปัจจัย และเป็นสภาวะ จึงตรัสคำว่า ขันธ์
เป็นต้น.

ว่าด้วยนิทเทสแห่งรูปาวจรธรรม


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสรูปาวจรธรรม ต่อไป.
บทว่า พฺรหฺมโลกํ (พรหมโลก) ได้แก่ สถานที่ดำรงอยู่แห่ง
พรหมกล่าวคือ ปฐมฌานภูมิ. คำที่เหลือในนิทเทสนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าว
ไว้ในนิทเทสกามวจรนั่นแหละ. ในบทมีอาทิว่า สมาปนฺนสฺส จ (ของผู้
เข้าสมาบัติ) พึงทราบว่า ตรัสกุศลฌานด้วยบทที่ 1 ตรัสวิบากฌานด้วย
บทที่ 2 ตรัสกิริยาฌานด้วยบทที่ 3 ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสอรูปาจรธรรม ต่อไป
บทว่า อากาสานญฺจายตนูปเค (ผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภูมิ)
ได้แก่ ผู้เข้าถึงภพกล่าวคือ อากาสานัญจายตนะ. แม้ในบทที่ 2 ก็นัยนี้แหละ.
คำที่เหลือในนิทเทสนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.

ว่าด้วยนิทเทสสรณทุกะ (ที่ 18)


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสสรณทุกกะ ต่อไป
บรรดาอกุศลมูล 3 อกุศลมูล คือโมหะนี้ใด โมหะนั้นสัมปยุตด้วย
โลภะ พึงทราบว่า เป็นสรณะ (เกิดพร้อมกับกิเลสเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้)
โดยโลภะ โมหะที่สัมปยุตด้วยโทสะ เป็นสรณะโดยโทสะ แต่โมหะที่สัมปยุต
ด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ เป็นสรณะโดยเป็นกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับ
การประหาณโดยกิเลสเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้คือราคะอันสัมปยุตด้วยทิฏฐิ และ
กิเลสคือรูปราคะอรูปราคะ ดังนี้.